วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ประสบการณ์ของผู้ที่เรียนภาษาจีนด้วยตนเอง

พอดีมาเจอตัวอย่างจริง ของผู้ที่เรียนภาษาจีนด้วยตนเอง มาแนะนำวิธีการเรียน
How I Learned Chinese for 6 Months | Five Hacks for Mandarin
ความยาว 11.16 นาที โดย Vicky


1. Strong Basic Foundation สร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง

อย่าได้พยายามหาวิธีที่ง่ายและเร็วในการเรียนภาษา พื้นฐานจะเป็นเสมือนเสาสำหรับรองรับการเรียนภาษาทั้งหมดของคุณ มันไม่ได้เกินไปที่จะบอกว่า ภาษาขั้นพื้นฐานจะเป็นตัวตัดสินว่าต่อไปคุณจะสามารถพัฒนาการใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่วได้หรือไม่ อย่าละเลยขั้นพื้นฐาน!!!

ในขั้นเริ่มต้น ให้หาสื่อที่จะเรียนภาษาขั้นพื้นฐานให้ได้ 1-2 อย่าง และตั้งใจเรียนอย่างต่อเนื่อง อย่าสลับไปทางโน้นทีทางนี้ทีเพราะจะไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย

ให้ใช้หลักพาเรโต (กฎ 80/20) กล่าวคือ สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20% ของทั้งหมด แต่กลับให้ผลงานคิดเป็น 80% ทีเดียว (ตัวอย่างเช่น หากคุณครูให้จับกลุ่มกันทำรายงานจำนวน 10 คน จะมีเพียง 2-3 คนเท่านั้นที่เป็นแกนนำในการทำการบ้านเกือบทั้งหมด ที่เหลือจะช่วยกันทำเล็กๆน้อยๆเท่านั้น) ดังนั้นจงโฟกัสเฉพาะสิ่งที่สำคัญเท่านั้น (Essentials)

ในช่วงเริ่มต้น Vicky ได้ไปร้านหนังสือเพื่อเลือกหนังสือขั้นพื้นฐานมาศึกษา เธอเลือกหนังสือที่มีบทสนทนาสั้นๆ และภาพประกอบจะได้ไม่รู้สึกเบื่อ และหนังสือยังมี Audio CD และแบบฝึกหัด ช่วยให้ฝึกฝนทั้งการอ่าน การเขียนและการฟังไปพร้อมๆ กัน

เธอยังแนะนำ Chinese Skill ซึ่งเป็น app บนมือถือ มีสื่อการสอนสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน ทำให้เธอใช้เวลาขณะนั่งรถเดินทางสามารถเรียนภาษาจีนได้ หรือขณะเดินบนทางเท้า แทนที่จะฟังเพลงทั่วไปเธอก็เปิดไฟล์เสียงเพื่อฟังแทนได้ เธอยังรู้สึกว่าเรียนผ่านแอปไม่น่าเบื่อ กลับคล้ายว่ากำลังเล่นเกมส์หรือกำลังฟังเพลงอยู่ เธอยังเน้นว่าในช่วงแรกควรหาวิธีเรียนที่ค่อนข้างสนุก จะได้ไม่รู้สึกว่าหนักเกินไป เลยเบื่อและเลิกเรียนไปเสียก่อน


2. Work your way down from advance to basic เริ่มจากขั้นสูงไปขั้นพื้นฐาน !!

อ่านแล้วไม่ต้องงง Vicky อธิบายว่าในฐานะที่เป็นผู้เรียนระดับต้น (Beginner) หรือก่อนขั้นกลาง (Pre-Intermediate) คุณก็ไม่จำเป็นต้องรอจนกระทั่งคุณทราบหลักไวยากรณ์ทั้งหมดหรือจำคำศัพท์ให้ได้มากๆ เสียก่อน ที่จะเรียนภาษาจีนในขั้นสูง โดยส่วนตัวของ Vicky นั้น เธอเริ่มศึกษาจากบทภาพยนตร์และเนื้อเพลงหลังจากเริ่มเรียนภาษาจีนได้ราว 3 เดือน หลายคนอาจคิดว่าเร็วเกินไปเพราะในช่วงแรกนั้นคุณยังไม่ทราบภาษาจีนดีพอที่จะเข้าใจของพวกนั้น แต่ Vicky อธิบายว่า จริงๆ แล้วคุณควรศึกษาจากภาพยนตร์หรือเพลง ไม่ใช่เพราะว่าคุณสามารถเข้าใจมันได้แล้ว แต่เป็นเพราะคุณยังไม่เข้าใจพวกมัน จึงต้องการศึกษาเพิ่มเพื่อเข้าใจมัน

สิ่งที่เธอทำคือ หลังจากดูภาพยนตร์หรือเพลงที่ชอบแล้ว เธอจะพิมพ์บทภาพยนตร์หรือเนื้อเพลงออกมา แล้วไล่ไปทุกคำ คำไหนที่ไม่เข้าใจก็ให้เปิดพจนานุกรม ส่วนไวยากรณ์จุดไหนที่ไม่เข้าใจ ให้ทำเครื่องหมายเอาไว้เพื่อถามเพื่อนคนจีนหรือศึกษาใน Chinese Grammar Wiki เอง จากวิธีการนี้จะทำให้ได้คำศัพท์ที่พบบ่อย รูปแบบของประโยคและวลี (ผู้แปล: อย่าลืมกฎพาเรโต --ให้เน้นเพราะสิ่งที่พบในภาพยนตร์จะเป็นสิ่งที่คนจีนใช้สนทนากันบ่อยๆจริง) และยังได้คุ้นเคยกับสำเนียงและวิธีพูดของคนจีนที่ใช้สนทนากันจริงๆ เธอเน้นว่าเป็นวิธีการที่ได้ผลดีมากกว่าขอให้ใครมาอธิบายคำศัพท์และไวยากรณ์ให้ฟังเสียอีก แถมยังไม่น่าเบื่ออีกด้วย


3. Fill your surroundings in Chinese เพิ่มโอกาสการใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน

เธอใช้วิธีตั้งค่าภาษาของโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค และ social media ให้เป็นภาษาจีน ซึ่งนอกจากจะมีโอกาสในการใช้ภาษาจีนเพิ่มขึ้นแล้ว ยังจะได้ความรู้สึกต้องเตรียมพร้อมสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย (พอคอมพิวเตอร์แสดงข้อความเตือนขึ้นมา เธอก็ต้องรีบอ่านให้เข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องรีบเปิด dictionary) ซึ่งคำศัพท์ที่เจอในกรณีดังกล่าว เธอรู้สึกว่าจะจำได้ดีกว่า (เพราะจำเป็นต้องใช้) นอกจากนั้นเธอยังเขียนโน้ตแปะผนังห้องเป็นภาษาจีน มีทั้งสำนวนและคำศัพท์ที่อยากจะจำให้ได้ มีประโยชน์เวลาไม่ได้ทำอะไร ก็มองเห็นคำศัพท์บนผนังเป็นการเรียนไปในตัว


4. Bond with native speakers เกาะติดเจ้าของภาษา

สำคัญมาก เพราะในการเรียนภาษาต่างประเทศ บางประเด็นเราจะทราบได้จากการแนะนำจากเจ้าของภาษาเท่านั้น เช่น มุขตลก วัฒนธรรมของแต่ละชาติ เกร็ดความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษา การใช้ภาษาอย่างเหมาะสม เป็นต้น ในส่วนตัวของ Vicky เธอได้คุยทาง Skype กับเพื่อนชื่อ Carol ด้วยภาษาจีนทุกสัปดาห์ และเขียนจดหมายถึงกันในบางครั้ง ได้ทั้งภาษาและได้เพื่อนอีกด้วย นอกจากนั้นเธอยังมีเพื่อนชาวไต้หวันชื่อ Bill ที่มาเรียนที่กรุงโซล เป็น language partner ซึ่งมักจะนัดเจอกันโดย Bill จะแก้ภาษาจีนให้เธอ ส่วนเธอก็คอยช่วยเหลือด้านภาษาเกาหลีให้แก่ Bill การสนทนาโดยส่วนใหญ่จะอาศัยการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง ซึ่งเธอพบเพื่อนทั้งสองผ่านทาง www.converstionexchange.com และเธอยังแนะนำ meetup.com เพื่อหากลุ่มคุยแลกเปลี่ยนภาษาในพื้นที่อีกด้วย


5. Intergrate your hobby into your learning routine เอาสิ่งชอบมาช่วยในการเรียนภาษา

ข้อนี้เกี่ยวข้องกับคำแนะนำข้อ 2 ที่เธอกล่าวมาแล้ว เธอบอกว่าหากคุณสนุกและชอบอะไรก็ตาม คุณจะหาเวลาและทุ่มเทเพื่อทำมันไปเอง ดังนั้นจงพยายามหาวิธีเรียนภาษาจากสิ่งที่ชอบ จะได้ไม่รู้สึกเบื่อ สำหรับ Vicky เธอชอบอ่านหนังสือ เธอจึงหาหนังสือที่เป็นภาษาจีนสำหรับเด็กมาอ่านหรือหาอ่านจากเวปไซต์ แล้วเก็บสุภาษิตหรือคติหรือข้อความอื่นๆ ที่ชอบลงในสมุดบันทึก เธอรู้สึกว่าการเขียนตัวอักษรจีนสวยๆ ลงในสมุด ช่างมีความสุขเสียจริงๆ เธอยังสนใจเรื่องราวที่มาของตัวอักษรจีนอีกด้วย ทำให้เธอรู้สึกรักภาษาจีนยิ่งขึ้น เธอหวังว่าทุกคนที่ดูคลิปของเธอจะรักภาษาจีนเหมือนอย่างที่เธอรักเช่นกัน


---------

แนะนำลิงค์:

แชร์ Hanyu_Jiaocheng – e-book(pdf) + ไฟล์เสียง หนังสือเรียนและไฟล์เสียงต้นฉบับที่ใช้สอนในห้องเรียน

เกมพินอิน ฝึกพินอินผ่านเกมส์ ถ้าแยกความแตกต่างของพินอินไม่ได้ ก็จะฟังแล้วจับว่าเป็นคำอะไรไม่ถูกครับ

มาฝึกภาษาจีนด้วยซีรีย์จีนกันเถอะ 

How to learn any language in six months เรียนภาษาอย่างไรให้ได้ในหกเดือน







วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

มาฝึกภาษาจีนด้วยซีรีย์จีนกันเถอะ


เคยสงสัยหรือไม่ว่า เรียนภาษามาตั้งนานแล้ว ทำไมยังพูดไม่ค่อยคล่องเสียที ?

ก่อนจะแนะนำวิธีการฝึกภาษาจีน ต้องขอแชร์ประสบการณ์การใช้งานภาษาอังกฤษก่อนครับ  ตั้งแต่เด็ก เรียนในโรงเรียน ก็เน้นไวยากรณ์และคำศัพท์เป็นหลัก เมื่อเข้าทำงาน ก็สามารถเอามาใช้เขียนรายงาน เขียนจดหมายได้เป็นอย่างดี เพียงแต่การพูดยังไม่ค่อยคล่องนัก  ต่อมาย้ายที่ทำงานแล้วต้องไปอยู่หอพัก มีเวลาหลังเลิกงานมาก จึงดูเคเบิ้ลทีวีช่อง HBO ซึ่งเป็นภาพยนตร์ soundtrack แต่มีซับไทย ดูรอบแรกก็ดูเอาอรรถรส อ่านซับไทยไปด้วย แต่พอ HBO เอากลับมาฉายซ้ำอีก ก็ลองหาอะไรมาบังซับไทยเอาไว้ แล้วลองดู ฟังรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้บ้าง ก็ดูๆ ไปเรื่อยๆ ....  เวลาผ่านไป 4 เดือน ก็มีโอกาสร่วมงานติดต่อกับชาวต่างประเทศ พอได้อ้าปากพูดเท่านั้น ก็ตกใจตัวเองเลย เพราะพูดออกมาอย่างคล่องแคล่ว สำเนียงดีขึ้นมาก ไม่ติดขัดเลย  ทั้งที่ไม่ได้เรียนภาษาเพิ่มเลย แค่เปิดหนังดูเท่านั้น

ดังนั้นพอมาเรียนภาษาจีน ผมจึงเน้นใช้การดูซีรีย์เป็นการฝึกภาษาครับ การดูซีรีย์ยังจะได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่มีในตำรา เช่น วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม วิถีการดำเนินชีวิตและวิธีคิดของคนจีนอีกด้วย สาเหตุที่เลือกดูซีรีย์เป็นเพราะจะได้เนื้อหาในเชิงลึก ครอบคลุมการใช้งานมากกว่าภาพยนตร์ที่มีเวลาจำกัด  การฝึกภาษาจีนด้วยซีรีย์ ควรเลือกซีรีย์จีนที่เป็นยุคปัจจุบัน ที่ไม่ใช่ซีรีย์กำลังภายใน ย้อนยุคย้อนเวลา (เพราะภาษาย้อนยุคกับภาษาปัจจุบันมีความแตกต่างกัน เรามีเวลาจำกัดควรเน้นที่จะใช้งานจริง) นอกจากนั้นควรเลือกดูซีรีย์หลายๆ แนว จะได้คำศัพท์ที่ครอบคลุมหลากหลาย ไม่ใช่เอาแต่ดูหนังรักโรแมนติกอย่างเดียว

ผมได้ลองเอาซีรีย์ยุคปัจจุบันมาประมาณ 10 เรื่อง ลองแกะทุกตัวอักษรดู พบว่าครอบคลุมศัพท์ HSK 1-5 เกือบ 99% ส่วนระดับ HSK 6 จะครอบคลุมประมาณ 71% นั่นแสดงว่าการดูซีรีย์สามารถช่วยในการทบทวนคำศัพท์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังได้ทราบบริบทข้างเคียง เปรียบได้กับประโยคตัวอย่าง ทำให้จำไปใช้งานได้จริงอีกด้วย คำศัพท์ที่พบในซีรีย์จะเป็นคำศัพท์ที่คนจีนใช้กันจริง คำศัพท์ที่คนจีนใช้บ่อยก็จะพบบ่อยในซีรีย์ เราก็จะจำได้ก่อน ดูๆไปเรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ ซึมเข้าไป สามารถจำและใช้งานได้คล่องไปเอง จะเป็นการใช้อย่างที่คนจีนใช้กันจริงๆ เพราะบางครั้งเราพูดตามที่เราเรียนมา มันก็ไม่ผิดไวยากรณ์ แต่ว่ามันไม่ใช่คำศัพท์หรือวิธีการที่คนจีนใช้กัน มันก็จะฟังดูแปลกๆ 

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น อาจเริ่มโดยดูซีรีย์ที่มีซับ อย่างไรก็ตาม หากเอาแต่ดูซีรีย์ที่มีซับ เราจะติดการอ่านซับ ทำให้ทักษะในการฟังไม่ดีนัก ดังนั้นถ้าได้ศัพท์ระดับ HSK 4 แล้ว ก็น่าจะลองดูโดยที่ไม่มีซับ จะได้เสริมทักษะด้านการฟัง รอบแรกอาจจะดูโดยไม่มีซับก่อน แล้วดูอีกรอบโดยมีซับ จะได้ทราบว่าเราฟังไม่ออกหรือฟังหลุดไปตรงไหนบ้าง

สำหรับผม ในซีรีย์เรื่องที่น่าสนใจ ผมยังจะเอามาแกะตามซับจีนทุกตัวอักษร เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการแปล โดยจะต้องทราบความหมายของคำศัพท์ทุกคำ ตัวไหนไม่ทราบให้เปิดพจนานุกรม คำศัพท์และสำนวนที่พบทั้งหมดจะเก็บลงไฟล์เอาไว้ ถ้าเป็นคำศัพท์ใน HSK จะพยายามท่องจำให้ได้ แต่ถ้าเป็นคำศัพท์นอก HSK หากพบซ้ำอีกจึงจะค่อยพยายามท่องจำ สำหรับไวยากรณ์ส่วนไหนที่ไม่ทราบก็จะเปิดหาเอาในอินเทอร์เน็ต ค่อยๆ ทำไปครับไม่ต้องรีบ แรกๆ ก็จะช้าหน่อยเป็นธรรมดา คิดว่ากำลังดูซีรีย์สนุกๆ อยู่ก็พอ ได้ทั้งความบันเทิงและยังได้ความรู้อีกด้วย

------------------------
ผมได้รวบรวบซีรีย์และภาพยนตร์จีนซับไทยที่น่าสนใจหลายๆ แนวเอาไว้ (คลิกที่นี่)

แนะนำลิงค์
แชร์คำศัพท์ HSK 4,5,6 คำแปลภาษาไทย พร้อม flashcard ช่วยท่องคำศัพท์
เรียนภาษาอย่างไรให้ได้ใน 6 เดือน
Chinese Grammar Wiki






เรียนภาษาอย่างไรให้ได้ใน 6 เดือน

พอดีเปิดไปเจอ แต่เป็นภาษาอังกฤษ เลยจับมาแปลให้ เผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างครับ
How to learn any language in six months | Chris Lonsdale | TEDxLingnanUniversity
-----------------------------------

5 Principles of Rapid Language Acquisition  (หลัก 5 ประการ ในการเรียนภาษาได้รวดเร็ว)

Principle #1: Focus on language content that is relevant to you (เน้นที่เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคุณ หรือคุณจำเป็นจะต้องใช้) เช่น การเอาตัวรอดในชีวิตประจำวัน หรือเรื่องงาน หรือดูหนัง
หากจำเป็นจะต้องใช้มัน เราจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น เพราะจะสนใจใส่ใจเป็นพิเศษ

Principle #2: Use your New Language as a Tool to Communicate ...From Day 1  (ใช้ภาษานั้นเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเรียน)

Principle #3: When you first UNDERSTAND the MESSAGE, you will unconsciously ACQUIRE the Language!!  (เมื่อคุณเริ่ม "เข้าใจ" ข้อความนั้น คุณก็ได้ซึมซับภาษานั้นๆ ไปโดยไม่รู้ตัวแล้ว)

Principle #4: Language learning is NOT ABOUT KNOWLEDGE but Physiological Training (การเรียนภาษา ไม่ใช่การสะสมความรู้ แต่เป็นการฝึกฝนใช้งานบ่อยๆ)

Principle #5: Psycho-physiological STATE Matters!  (สภาพจิตใจ-ร่างกาย มีความสำคัญ)
ถ้าคุณเศร้า โกรธ วิตกกังวล อารมณ์เสีย คุณก็จะเรียนไม่ได้  -- แต่ถ้าเรียนด้วยความผ่อนคลาย มีความสุข ก็จะเรียนได้ดี


7 Actions for Rapid Language Acquisition  (7 ข้อปฏิบัติ ในการเรียนภาษาได้รวดเร็ว)

Action #1 - Listen A LOT!  (ฟังมากๆ !)
Brain Soaking - 泡脑子
[ผู้แปล:  ขอแชร์ประสบการณ์การใช้งานภาษาอังกฤษครับ  ตั้งแต่เด็ก เรียนในโรงเรียน ก็เน้นไวยากรณ์และคำศัพท์เป็นหลัก เมื่อเข้าทำงาน ก็สามารถเอามาใช้เขียนรายงาน เขียนจดหมายได้เป็นอย่างดี เพียงแต่การพูดยังไม่ค่อยคล่องนัก  ต่อมาย้ายที่ทำงานแล้วต้องไปอยู่หอพัก มีเวลาหลังเลิกงานมาก จึงดูเคเบิ้ลทีวีช่อง HBO ซึ่งเป็นภาพยนตร์ soundtrack แต่มีซับไทย ดูรอบแรกก็ดูเอาอรรถรส อ่านซับไทยไปด้วย แต่พอ HBO เอากลับมาฉายซ้ำอีก ก็ลองหาอะไรมาบังซับไทยเอาไว้ แล้วลองดู ฟังรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้บ้าง ก็ดูๆ ไปเรื่อยๆ ....  เวลาผ่านไป 4 เดือน ก็มีโอกาสร่วมงานติดต่อกับชาวต่างประเทศ พอได้อ้าปากพูดเท่านั้น ก็ตกใจตัวเองเลย เพราะพูดออกมาอย่างคล่องแคล่ว สำเนียงดีขึ้นมาก ไม่ติดขัดเลย  ทั้งที่ไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเลย แค่เปิดหนังดูเท่านั้น]

Action #2 - Focus on getting the meaning FIRST  (before the words)  (เน้นเอาความหมายก่อน)
เมื่อเริ่มเรียนใหม่ๆ ไม่ต้องกลัวพูดผิด ขอให้สื่อสารรู้เรื่องเป็นใช้ได้ จะใช้ภาษากาย (Body Language) หรือจะวาดภาพประกอบก็ได้

Action #3 - Start Mixing  (เอาเนื้อหาคำศัพท์ที่เรียนรู้จากต่างสถานการณ์กัน มาลองผสมกัน ลดความจำเจหรือเพื่อใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ)

Action #4 - Focus on the core (เน้นที่แกนหลัก)
high frequency
3000 Words Gives 98% "Coverage"
ทุกภาษา จะมีคำที่ใช้บ่อยๆ จริงๆ ไม่มากนัก การรู้คำศัพท์หลัก 3000 คำ ก็ครอบคลุมการใช้งานถึง 98% แล้ว

Action #5 - Get a Language Parent  (หา "พ่อแม่" ทางภาษา -- หาคู่สนทนา)  เหมือนเด็กทารกเวลาฝึกพูด พูดเสียงอ้อแอ้  คนนอกฟังไม่เข้าใจ แต่พ่อแม่เข้าใจ และจะค่อยๆ สอนจนพูดได้ถูกต้อง

Language Parent "Rules"  (กฎสำหรับ "พ่อแม่" ทางภาษา)
- Works to understand what you are saying  (พยายามเข้าใจว่าคุณกำลังพูดอะไร)
- Does not correct mistakes  (ไม่แก้ข้อผิด... แต่ใช้วิธี...)
- Confirms understanding by using correct language  (ยืนยันความเข้าใจ ด้วยการใช้ภาษาที่ถูกต้อง)
- Uses word the learner knows  (ใช้คำที่ผู้เรียนทราบ)

Action #6 - Copy the Face  (เลียนแบบการใช้กล้ามเนื้อบนใบหน้าเวลาพูด)
อาจถ่ายคลิปใบหน้าของเจ้าของภาษาในการพูดบางคำที่ยากๆ หากเราพูดแล้วลักษณะกล้ามเนื้อไม่เหมือน ก็แสดงว่าอาจออกเสียงไม่ถูกหลัก

Action #7 - "Direct Connect" to Mental Images  (เชื่อมโยงเข้ากับภาพในหัว)  เช่น คำว่า 火(huǒ) ก็โยงกับภาพเปลวเพลิง และควันไฟ เป็นต้น
------------------------

ในคลิปจะมีภาพประกอบ ถ้าเห็นภาพประกอบจะช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้น

คริส ลอนสเดล (Chris Lonsdale)  เป็นนักจิตวิทยา นักภาษาศาสตร์และนักการศึกษาชาวนิวซีแลนด์ มีประสบการณ์กว่า 30 ปีในการทำธุรกิจในเอเซีย วีดิโอบทความด้านการเรียนภาษาของเขาติด 10 อันดับสูงสุดตลอดกาลของ TEDxLingnanUniversity

การที่เอาบทความนี้มาแปล ต้องการให้ทราบหลักการและวิธีการที่ช่วยให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านจิตวิทยา ซึ่งในความเป็นจริงจะพบว่าผู้ที่เรียนได้ดี จะเป็นผู้ที่มีใจรักในวิชานั้นๆ มีความสนใจใส่ใจเรียน และตั้งใจจะเอาไปใช้ประโยชน์จริง อย่างไรก็ตามอย่าเคร่งเครียดเกินไปนัก ควรเรียนอย่างผ่อนคลายและสนุกกับการเรียน

ลองดูอีกเวอร์ชั่นของบทความนี้ เป็นบทสัมภาษณ์คริส ลอนสเดลด้วยภาษาจีน จะได้เห็นว่าเขาพูดภาษาจีนเป็นอย่างไรบ้าง
https://youtu.be/wzm2_-hgDd8?si=N1VAzqvMgyG6QuX9


------------------------
แนะนำลิงค์หาคู่สนทนาทางภาษา(จีน)
www.mylanguageexchange.com
www.converstionexchange.com
meetup.com













วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

โปรแกรม anki ดีอย่างไร

แหล่งอ้างอิง:
ท่องจำตอนไหนดี (Spaced repetition)
Study Smart: the Power of Spaced Repetition


ตามหลักการทำงานของสมองและ decay theory (decay = เสื่อมถอย) ความจำของเราจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป คือ เราจะจำสิ่งที่เราเพิ่งเรียนเมื่อวานได้มากกว่าสิ่งที่เราเรียนไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

หลักการหนึ่งที่มาช่วยไม่ให้ความจำถดถอยมาก คือ spaced repetition คือ การเว้นระยะการทบทวนเป็นช่วงๆ (space = เว้นระยะ, repetition = การทำซ้ำ)


จากกราฟ หลังจากการเรียน พอผ่านไป 10 นาที ถ้าเราไม่ทบทวน ความจำจะเหลือ 50% (เส้นน้ำเงิน) แต่ถ้าทบทวนก็จะกลับไปเป็น 100% เหมือนเดิม หลังจากการทบทวนครั้งแรก พอหนึ่งวันผ่านไป ถ้าเราไม่ได้ทบทวนเพิ่มจะเหลือประมาณ​ 50% (เส้นสีแดง) แต่ถ้าเราทบทวนก็จะกลับไปเป็น 100% เหมือนเดิม เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านการทบทวนมากครั้งขึ้น อัตราการถดถอยของความจำจะช้าลง และจะสามารถจำได้นานขึ้น ทำให้สามารถเว้นระยะห่างการทบทวนออกไปอีกได้ ซึ่งตัวอย่างจากกราฟ ระยะการทบทวนที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้ความจำถดถอยมากเกินไป คือ รีบทบทวนทันทีหลังเรียน ต่อจากนั้นให้ทบทวนในวันถัดไป และทบทวนอีกเมื่อครบ 1 สัปดาห์ เป็นต้น

โปรแกรม anki อาศัยหลักการ spaced repetition โดยจะทำหน้าที่เอาคำศัพท์มาให้เราเรียนรู้ แล้วจะทำหน้าที่คำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะนำคำศัพท์นั้นกลับมาทบทวนเป็นช่วงๆ ไป เมื่อเราตอบคำถามบน flashcard แล้ว โปรแกรมจะช่วยจดจำว่าเราสามารถตอบคำถามได้ดีเพียงใด หากคำถามใดเราตอบได้ไม่ถูกต้อง หรือไม่ค่อยคล่อง โปรแกรมจะจับคำถามนั้นๆ กลับมาถามซ้ำบ่อยๆ และหากคำถามใดที่เรารู้สึกว่าง่าย เราก็สามารถบอกโปรแกรมได้ เพื่อจะได้ไม่นำกลับมาถามซ้ำบ่อยๆ  ซึ่งผลที่สุดแล้วจะทำให้จดจำเนื้อหาของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ทั้งหมดไปได้เอง

หลักการนี้จะช่วยประหยัดเวลา ไม่จำเป็นจะต้องทบทวนทั้งหมด เพียงทบทวนคำศัพท์ที่เรายังไม่คล่อง และนานๆ ทีจึงค่อยทวนคำศัพท์เก่าๆที่เคยได้แล้วเพื่อกันลืม จึงมีประสิทธิภาพสูงการวิธีการทั่วไปมาก แต่เรามีหน้าที่จะต้องเข้าโปรแกรมทุกวันไปเรียนรู้และทบทวนคำศัพท์ตามที่โปรแกรมจัดให้ (ดูคลิปแสดงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ random review vs most-recent review vs spaced review -- แม้เป็นภาษาอังกฤษแต่ก็เป็นภาพที่เข้าใจได้ง่าย ช่วยให้เข้าใจประสิทธิภาพของวิธีต่างๆ)

----------------
ลิงค์แนะนำ:
แชร์คำศัพท์ HSK 4,5,6 คำแปลภาษาไทย พร้อม flashcard ช่วยท่องคำศัพท์




วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

แชร์แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย Hanyu Jiaocheng




การทำแบบฝึกหัดสำคัญมากสำหรับการเรียนในทุกสาขาวิชา เพื่อวัดว่าเราเข้าใจถูกต้องหรือไม่

ข้างล่างจะเป็นลิงค์แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย เป็น adobe flash เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนด้วยตนเอง และนักเรียนที่อยากลองทำก่อนส่งการบ้าน โดยโปรแกรมจะมีเฉลยให้ อย่างไรก็ตามพบว่าบางส่วน(น้อย) มีผิดพลาดอยู่ อย่าเอาไปอ้างอิง 100% ทีเดียว



********************************
14 มกราคม 2564 -- เวป eblcu เข้าได้ตามปกติทั้งหมดแล้วครับ แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย (เป็นเฉลยสำหรับ 2nd edtion) ถูกย้ายลงไปด้านล่างสุดแทนครับ



********************************
14 กันยายน 2563 -- เนื่องจากเวป eblcu ยังเข้าไม่ได้ จึงเอาเฉลยของ Hanyu Jiaocheng แต่เป็น 3rd edtion มาให้แทนครับ หากจะใช้กรุณาระวังด้วยเพราะบางส่วนอาจไม่ตรงกับของ 2nd edtion ได้




สำหรับตัวหนังสือ,ไฟล์เสียงและอื่นๆ ของ 3rd edition ก็มีให้ download ได้ที่นี่

หมายเหตุ: เฉลยของเล่ม 1 และ 2 ค่อนข้างดี แต่พอลองเปิดดูเฉลยของเล่ม 3-1 พบว่าเฉลยของ 3rd edition มีข้อผิดพลาดจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะส่วนที่เป็นการแต่งประโยค ผู้ที่เปิดเฉลยแล้วสงสัย สามารถเทียบดูเฉลยจากท้ายเล่มของหนังสือ 2nd edition ได้ (ไม่ได้มีครบทั้งหมด และมีเฉพาะเล่ม 2-1, 2-2, 3-1, 3-2 เท่านั้น)
สำหรับผู้ที่ใช้แบบเรียน 3rd edition แต่ชอบรูปแบบของแบบฝึกหัดพร้อมเฉลย ก็สามารถใช้ลิงค์ของ 2nd edition ได้ เพียงแต่ต้องดูว่าชื่อหัวข้อของบท ตรงกับของ 3rd edtion หรือไม่ ถ้าตรงกันก็สามารถใช้ได้ครับ

********************************

อนึ่ง เรียนอะไรก็แล้วแต่ อย่าขี้เกียจทำแบบฝึกหัดนะครับ

เรียนภาษาให้ได้ผลควรฝึกฟังให้มากๆ ผมใช้การดูซีรีย์จีนช่วย เมื่อดูบ่อยๆ จะได้สำเนียงที่ถูกต้อง ได้ทำความคุ้นเคยกับวิธีที่คนจีนใช้สนทนากันจริงๆ เวลาจะใช้งานจริงจะมีส่วนช่วยมาก เพราะบางครั้งพูดแบบนี้มันก็ไม่ผิดไวยากรณ์ แต่ไม่ใช่คำศัพท์หรือวิธีพูดที่เขาใช้กัน พูดออกมามันก็จะฟังแปลกๆ

นอกจากฟังบ่อยๆ แล้ว ก็ควรฝึกแต่งประโยคบ่อยๆ ครับ ขอแนะนำหนังสือ "ภาษาจีนระดับต้น 1 และ 2" ของอ.เหยิน จิ่งเหวิน (Ren Jingwen) (มีทั้งรูปแบบหนังสือและ pdf ขายนะครับ เลือกอันที่มีไฟล์เสียง mp3) วิธีการสอนของหนังสือจะคล้ายกับของ Hanyu Jiaocheng แต่ว่าผู้เขียนเป็นคนจีนที่พูดไทยได้ ดังนั้นจึงเขียนหนังสือสำหรับสอนคนไทย คำศัพท์จะแปลเป็นภาษาไทยให้ มีแบบฝึกหัดให้ฝึกแต่งประโยค ให้ฝึกแปลประโยคจากไทย-->จีน และจากจีน-->ไทย โดยหนังสือจะมีเฉลยอย่างละเอียดไว้ด้านหลัง นอกจากนั้นหนังสือจะแนะนำส่วนประกอบของตัวอักษร จะช่วยในการจำตัวอักษรอย่างเป็นระบบครับ (หนังสือ Hanyu Jiaocheng ไม่มีในจุดนี้)

ใครที่เรียนภาษาจีนด้วยตนเอง ห้ามมองข้ามพินอินอย่างเด็ดขาด ควรฝึกพูดฝึกใช้ให้ถูกต้องจนคล่อง อย่าเรียนข้ามๆ ไปแล้วติดพูดแบบผิดๆ ไป เพราะตอนหลังแม้จะใช้สนทนาได้คล่องแล้วก็ตาม แต่ที่พูดไม่ค่อยชัดเพราะไม่ได้เน้นให้ถูกต้องแต่แรก ภายหลังคิดจะมาแก้ก็สายไปเสียแล้วครับ

การออกเสียงให้ถูกต้องนั้น จะต้องมีการวางลิ้นที่ถูกตำแหน่งด้วยครับ เรื่องนี้อย่าว่าแต่ผู้ที่เรียนด้วยตนเองเลยครับ แม้แต่นักเรียนในห้องเรียนบางส่วนก็อาจไม่ทราบด้วย

ลิงค์แนะนำ:
เกมพินอิน  ฝึกพินอินผ่านเกมส์



********************************

อย่าลืมศึกษาจากองค์ประกอบย่อย

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นเรียนภาษาจีน อาจไม่ทราบว่าหลักการจดจำตัวอักษรจีนที่ถูกต้องนั้น คือ ควรหัดแยกองค์ประกอบย่อยของตัวอักษร เพราะตัวอักษรจีนมากกว่า 80% ที่เป็นตัวหนังสือผสม ตัวอย่างเช่น

会意字 ตัวหนังสือผสมเพื่อแสดงความหมายใหม่
木(ต้นไม้) + 木(ต้นไม้)    --> 林 (ป่า)
人(คน)                             --> 众 (กลุ่มคน)
亻(คน) + 木(ต้นไม้)         --> 休 (คนพิงต้นไม้ หมายถึง "พักผ่อน")
田(ไร่นา) + 力(คันไถ,แรงงาน) --> 男 (แรงงานทำไร่ทำนา คือ "ผู้ชาย")

形声字 ตัวหนังสือผสมที่แสดงทั้งความหมายและเสียง
女(หญิง - ส่วนประกอบบอกความหมาย) + 马(mǎ - ส่วนประกอบบอกเสียง) --> 妈(mā, แม่)
禾(ธัญพืช - ส่วนประกอบบอกความหมาย) + 中(zhōng - ส่วนประกอบบอกเสียง) --> 种(zhòng, ปลูก)
口(ปาก - ส่วนประกอบบอกความหมาย) + 门(mén - ส่วนประกอบบอกเสียง) --> 问(wèn, ถาม)

(ขอขอบคุณ ตัวอย่างจากหนังสือภาษาจีนระดับต้น 1 ของอ.เหยิน จิ่งเหวิน)

การที่เรารู้จักการแยกองค์ประกอบย่อยของตัวอักษรจะทำให้เรามีหลักในการจำทั้งความหมายและการเขียน ดีกว่าหลับหูหลับตาจำตัวอักษรไปทั้งตัว ยิ่งตัวอักษรซับซ้อนมากขึ้น การแยกจำเป็นส่วนๆ จะช่วยลด memory ที่ใช้ ประหยัดเวลาและลดความผิดพลาด นอกจากนั้นเมื่อพบตัวอักษรที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เราสามารถเดาความหมายหรือเสียงอ่านของตัวอักษรนั้นจากองค์ประกอบย่อยของตัวอักษรได้คร่าวๆ อีกด้วย

---------

หลักการแยกองค์ประกอบยังนำมาใช้ในการท่องคำศัพท์ได้อีกด้วย เพราะคำศัพท์ในภาษาจีน จำนวนไม่น้อยที่ประกอบด้วยตัวอักษรจีนมากกว่า 1 ตัว ผู้ที่เตรียมตัวสอบ HSK ส่วนใหญ่จะท่องความหมายของคำศัพท์ไปทั้งคำ ความเป็นจริงแล้วความหมายของคำศัพท์จะเป็นการประสมกันเข้าของความหมายของแต่ละตัวอักษร ตัวอย่างเช่น

电 (ไฟฟ้า) + 视 (มอง,ดู) --> 电视 (โทรทัศน์)
飞 (บิน) + 机 (เครื่อง)      -->飞机 (เครื่องบิน)

ดังนั้นเมื่อทราบความหมายของแต่ละตัวอักษรย่อย จะทำให้ทราบความหมายของคำศัพท์โดยอัตโนมัติ มีข้อดีมาก เพราะจะมีหลักในการจดจำคำศัพท์ โดยเฉพาะคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน (近义词) ชาวต่างประเทศจะมีปัญหาสับสนในการเลือกใช้ แต่ชาวจีนจะไม่เป็นเพราะเขาทราบความหมายของแต่ละตัวอักษรที่ประกอบกันเข้าเป็นคำศัพท์ ดังนั้นเวลาเจอคำศัพท์ใหม่อย่าลืมพยายามแยกองค์ประกอบและทำความเข้าใจความหมายรวมของคำศัพท์โดยเชื่อมโยงเข้ากับความหมายของแต่ละตัวอักษร

实用 (shíyòng) HSK 5 -- 实 (จริง) + 用 (ใช้) รวมกันมีความหมายว่า นำไปใช้ได้จริง; ใช้ประโยชน์ได้จริง

饥饿 (jī è หิว, ความหิว) HSK 6 -- แม้เราไม่เคยเจอคำศัพท์นี้ แต่เราทราบว่า 饿 แปลว่า หิว ทำให้พอจะเดาความหมายคร่าวๆ ได้

偿还 (chánghuán) HSK 6 -- 偿 (คืน ชดเชย ชดใช้, สนองความต้องการ) + 还 (คืน) รวมกันมีความหมายว่า ใช้คืน (หนี้สินที่ค้าง)

อย่างไรก็ตามบางตัวอักษรจะมีความหมายได้หลายอย่าง ต้องเลือกความหมายให้เหมาะสม เมื่อประกอบกันจึงจะเป็นความหมายของคำศัพท์ที่ถูกต้อง ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นอาจจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น แต่ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะยิ่งรู้รากศัพท์หรือความหมายของแต่ละตัวอักษรมากๆ ภายหลังเจอคำศัพท์ใหม่ๆ เราจะสามารถทราบความหมายได้เองโดยอัตโนมัติ จะไม่รู้สึกว่ายากอีกต่อไป

ตัวอักษรจีนที่ทราบ   ครอบคลุมการใช้งานประมาณ
250 ตัว                      64%
500 ตัว                      79%
1000 ตัว                    91%
1500 ตัว                    95%
(ที่มา: yellowbridge - Learning the Most Commonly Used Chinese Characters)

ลิงค์แนะนำ:


********************************

แนะนำพจนานุกรมจีน

ตอนเด็กๆ ที่ผมเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ครูที่โรงเรียนได้บอกตั้งแต่ต้นเลยว่า อย่าใช้พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ให้ใช้พจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษเท่านั้น เวลาเปิดหาความหมาย มันก็จะอธิบายมาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเราเพิ่งเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ คำศัพท์อะไรก็ยังรู้ไม่มาก ทำให้ติดศัพท์เพิ่มอีก เลยต้องไปเปิดหาความหมายของคำศัพท์ในคำจำกัดความของคำแรกเพิ่ม ผลก็คือกว่าจะทราบความหมายของคำศัพท์แรกนั้น เราต้องเปิดหาคำศัพท์ไปอีก 20 คำ!!! แต่มันก็ทำให้นักเรียนได้ทราบความหมายของคำศัพท์เพิ่มขึ้นทวีคูณอย่างรวดเร็วครับ (ถ้าไม่โกงโดยแอบเปิดพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย) สาเหตุต่อมาที่ไม่ให้ใช้พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย เพราะคำจำกัดความที่เป็นภาษาไทยนั้นมีข้อจำกัดอยู่ อาจทำให้เข้าใจความหมายของคำศัพท์บางคำคลาดเคลื่อนไปได้

พอผมมาเรียนภาษาจีน ช่วงแรกๆ ผมใช้พจนานุกรมจีน-ไทย และจีน-อังกฤษประกอบกันครับ เพื่อลดข้อจำกัดทางภาษา ป้องกันการเข้าใจความหมายของคำศัพท์คลาดเคลื่อนไป สำหรับคำศัพท์ HSK ผมก็ไปหาคำแปลจีน-อังกฤษ เอามาใส่คำจำกัดความภาษาไทยจากพจนานุกรมจีน-ไทยเข้าไปครับ ทำขึ้นมาทั้งรูปแบบตารางเป็น pdf และรูปแบบ Anki flashcard

สิ่งที่ผมพบจากการทำตารางคำศัพท์ HSK คือ คำศัพท์ที่มาจากพจนานุกรมจีน-ไทย บางส่วนไม่ตรงกับของพจนานุกรมจีน-อังกฤษครับ บางคำถึงกับมีความแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้ผมรู้สึกแปลกใจ จึงจำเป็นต้องไปเปิดพจนานุกรมจีน-จีนครับ ผลปรากฏว่าพจนานุกรมจีน-ไทยมีบางส่วน(น้อย)ที่แปลคลาดเคลื่อนไป ซึ่งบางคำก็คลาดเคลื่อนไปอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว ทำให้ผมต้องไปเปิดพจนานุกรมจีน-จีน ตรวจสอบความหมายของคำศัพท์ HSK ทุกคำครับ และได้ทำสรุปเป็นไฟล์ดัชนีคำศัพท์ขึ้นมา เพื่อบอกว่าคำศัพท์ใดที่มีการแปลคลาดเคลื่อนไปบ้าง (ดูเพิ่มเติม: แชร์คำศัพท์ HSK 4,5,6 คำแปลภาษาไทย พร้อม flashcard ช่วยท่องคำศัพท์

พจนานุกรมจีน-จีน ที่ผมใช้มีทั้งหมด 3 เวปครับ (ต้องเปิดมากกว่า 1 เล่ม เพราะบางคำในเล่มนี้มี บางคำก็ไม่มีแต่พบในเล่มอื่น)

www.zdic.net -- จะให้คำจำกัดความเป็นภาษาจีน โดยมีคำในภาษาอังกฤษประกอบเพื่ออ้างอิง พร้อมมีประโยคตัวอย่างการใช้ด้วยครับ
www.iciba.com -- น่าเสียดายที่ส่วนที่ให้คำจำกัดความเป็นภาษาจีนตอนนี้ถูกตัดทิ้งไปแล้ว
cidian.youdao.com -- เมื่อป้อนคำศัพท์แล้วจะต้องเลือก 现代汉语 จึงจะแสดงคำจำกัดความที่เป็นภาษาจีนครับ สามารถใช้เม้าส์ชี้ที่คำศัพท์ภาษาจีนบนเอกสารใดๆเพื่อแปลเป็นอังกฤษ หรือชี้ที่ภาษาอังกฤษให้แปลเป็นจีน หรือจะลากเม้าส์ครอบทั้งประโยคเพื่อแปลก็ได้ สามารถกดดาวน์โหลด offline dictionary มาเพิ่ม เพื่อไม่ต้องเข้า internet ครับ (ปุ่มกดมีอยู่ในโปรแกรมอยู่แล้ว แต่ต้องลองหาหน่อยครับ)


(ภาพแสดง Character decomposition ของ MDBG dictionary)

ส่วนพจนานุกรมจีน-อังกฤษที่ผมใช้มี 2 เวปครับ
MDBG dictionary -- มีการ update คำศัพท์ใหม่ๆ อยู่ตลอด อย่างเช่น 功夫流感 ที่ Trump พูดปี 2020 ก็มีแล้ว มีปุ่มกดเพื่อแยกองค์ประกอบคำ (word decomposition) และแยกองค์ประกอบตัวอักษร (character decomposition) ครับ มีประโยชน์มาก สามารถป้อนข้อมูลได้ทั้งตัวอักษรจีน, พินอิน, คำภาษาอังกฤษ และมีฟังก์ชั่นเขียนตัวอักษรด้วยเมาส์ได้ (แต่ไม่ค่อยดีนัก ต้องเขียนให้ถูกลำดับขีด และบางทีเขียนถูกแล้วก็หาไม่เจอ ฟังก์ชั่นนี้ Pleco dictionary และ Line dictionary ทำได้ดีกว่ามาก)
Yellowbridge dictionary  -- ที่ผมอยากแนะนำ คือ Etymology (วิชาว่าด้วยประวัติที่มาของคำ) เมื่อเราใส่ตัวอักษรเข้าไป โปรแกรมจะบอกมาว่าตัวอักษรถูกประดิษฐ์จากอะไร เช่น ตัวอักษร 好 โปรแกรมจะบอกมาว่า ผู้หญิง 女 อยู่กับเด็ก 子  ถือเป็นสิ่งที่ดี เป็นต้น ซึ่งตัวอักษร 男 หรือตัวอักษรผสมอื่นๆ ก็จะบอกที่มาการกำเนิดตัวอักษรเอาไว้ มีส่วนช่วยในการจำตัวอักษรเป็นอย่างดี

สำหรับพจนานุกรมจีน-ไทย โดยเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ
หลายคนอาจทราบว่าพจนานุกรมจีน-ไทยมีในรูปแบบเวปด้วย แต่ผมไม่แนะนำให้ใช้ครับ เพราะคำจำกัดความที่ใส่เข้าไป ไม่ได้ใส่คำขยายในวงเล็บเข้าไปด้วยเลย และจะไม่มีประโยคตัวอย่างการใช้ อาจทำให้ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องครับ (นอกจากนั้นผมก็เจอว่าบางส่วนมีการลอกจากหนังสือมาผิด เอาความหมายของคำอื่นมาใส่ผิดก็มี) ซื้อรูปแบบหนังสือมาเปิดดีกว่าครับ


********************************

活到老,学到老。One is never too old to learn. (idiom)
学如逆水行舟,不进则退。study is like rowing upstream – if you don't keep pushing forward, you fall behind
吃得苦中苦,方为人上人。one cannot achieve glory and wealth without having been through trials and tribulations (proverb) / no pain, no gain

(ขอขอบคุณ คติพจน์จากหนังสือภาษาจีนระดับกลาง 1 ของ อ.เหยิน จิ่งเหวิน ; คำแปลจาก MDBG dictionary)

********************************

ให้ใช้หลักพาเรโต (กฎ 80/20)

กล่าวคือ สิ่งที่สำคัญจะมีเพียง 20% ของทั้งหมด แต่กลับให้ผลงานคิดเป็น 80% ทีเดียว (ตัวอย่างเช่น หากคุณครูให้จับกลุ่มกันทำรายงานจำนวน 10 คน จะมีเพียง 2-3 คนเท่านั้นที่เป็นแกนนำในการทำการบ้านเกือบทั้งหมด ที่เหลือจะช่วยกันทำเล็กๆน้อยๆเท่านั้น) ดังนั้นจงโฟกัสเฉพาะสิ่งที่สำคัญเท่านั้น (Essentials)

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าตรงไหนสำคัญบ้าง...

1. พินอิน
จะพูดภาษาจีนชัดหรือไม่ชัด ก็ขึ้นกับเรียนพินอินออกเสียงถูกต้องหรือไม่ แม้ว่าเสียงอ่านภาษาไทยจะใช้เทียบเคียงเสียงอ่านพินอินได้บ้าง แต่ก็มีหลายเสียงที่ไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ จึงต้องฝึกฝนเน้นเป็นพิเศษ เสียงพยัญชนะ ได้แก่  j, q, x, z, c, s, zh, ch, sh และ r  ส่วนเสียงสระ ได้แก่ -ü,  -iu[i̯ou̯], -iong, -ua, -uo, -uai, -ui[u̯ei̯], -uan, -un[u̯ən], -uang เป็นต้น

2. คำศัพท์
ความจริงแล้วในทุกๆ ภาษา คำศัพท์ที่ใช้บ่อยๆ มีไม่มากนัก สำหรับภาษาจีน เพียงทราบตัวอักษรที่ใช้บ่อย 1000 ตัว ก็จะครอบคลุมการใช้งานถึง 91% แล้ว ส่วนคำศัพท์ที่พบบ่อยนั้น สามารถดูได้จากคำศัพท์ HSK เพราะคำศัพท์ HSK ได้เรียงลำดับตามการใช้งานและการพบบ่อยอยู่แล้ว คำศัพท์ HSK 1 ก็จะใช้บ่อยสุด ส่วน HSK 6 ก็จะใช้ไม่บ่อยนัก (ถ้าได้ HSK 4 ก็พอจะดำน้ำดูซีรีย์ได้ครับ) สำหรับผู้ที่เรียนตาม Hanyu Jiaocheng หากจบครบ 6 เล่ม ก็จะใช้สอบ HSK 5 ได้ครับ (คำศัพท์ HSK 6 จะครอบคลุมบางส่วน แต่ไม่เพียงพอ)

3.ไวยากรณ์
ทราบหรือไม่ว่าภาษาไทยกับภาษาจีนมีความคล้ายคลึงกันมาก ที่แตกต่างกันมากที่สุดก็คือตัวอักษร ส่วนไวยากรณ์จะคล้ายคลึงกัน มีที่ต้องศึกษาเป็นพิเศษไม่มากนัก หากเรียนจบ Hanyu Jiaocheng 2-2 จะครอบคลุมไวยากรณ์หลักๆ ไว้เกือบหมดแล้ว  (ส่วน Hanyu Jiaocheng 3-1, 3-2 จะเป็น 词语用法)

4.อื่นๆ
ทราบหรือไม่ว่ามีผู้ที่สอบผ่าน HSK 5 ได้คะแนนสูงๆ แต่ปรากฏว่าไม่สามารถใช้พูดสนทนาได้จริง คนประเภทนี้มีจำนวนไม่น้อยและเป็นปัญหากับบริษัทที่รับเข้าไป ทำให้มีการสอบ HSKK (Hanyu Shuiping Kouyu Kaoshi) ขึ้น
ปัญหานี้จะเกิดกับผู้ที่ไม่มีโอกาสในการใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน การพูดสนทนาภาษาจีนให้ได้ดีนั้น นอกจากจะทราบคำศัพท์และไวยากรณ์แล้ว ยังต้องทราบการเข้าคู่ของคำ (词语搭配)  อีกด้วย พูดออกมาถูกไวยากรณ์ แต่ไม่ใช่คำที่ใช้คู่กัน มันก็จะแปลกๆ ไปทันที
สำหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน สามารถทดแทนได้ด้วยการฟังบ่อยๆ และการฝึกแต่งประโยค


********************************

ซีรีย์ดูสนุก ได้ประโยชน์

ภาษาที่พบในซีรีย์จะเป็นภาษาที่คนจีนนิยมใช้พูดกันจริงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องเน้น (อย่าลืมหลักพาเรโต -- ใช้ความพยายามส่วนน้อย แต่จะครอบคลุมการใช้งานส่วนใหญ่ได้) ทั้งคำศัพท์ ไวยากรณ์ วิธีการใช้ การเลือกคำ จะถูกสะท้อนออกมาในนั้นอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะซ้ำไปซ้ำมา เราศึกษาจากสิ่งที่ปรากฏในซีรีย์จะเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Sample group) ใช้เป็นตัวแทนครอบคลุมวิธีการที่คนจีนใช้สนทนากันบ่อยๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

ผมเป็นคนที่ไม่ชอบดูละครไทย แต่พอมาเรียนภาษาจีนแล้วกลับต้องดูซีรีย์จีนเพื่อฝึกภาษา แรกๆ ก็ดูซีรีย์ที่มีซับไทย เพื่อให้คุ้นเคยกับสำเนียงภาษาจีนเอาไว้ก่อน พอเมื่อเรียน Hanyu Jiaocheng 1-1,1-2 จบแล้ว ผมก็เริ่มเอาซีรีย์จีนที่ผมสนใจมาแกะตามซับจีนทุกตัวอักษร คำศัพท์ไหนไม่ทราบจะเปิดพจนานุกรม ซึ่งตอนนั้นซีรีย์หนึ่งตอน (45 นาที) ผมใช้เวลาแกะอยู่หลายวัน เพราะติดศัพท์เยอะมาก ตอนนั้นคำศัพท์ HSK 2 ยังไม่ค่อยคล่องเลย คำศัพท์และสำนวนที่พบทุกคำจะเก็บลงไฟล์เอาไว้ (หากเราฝึกแกะซีรีย์ใหม่ๆ ควรเลือกซีรีย์ที่มีซับไทยหรืออังกฤษกำกับด้วย เพื่อไม่ให้แปลแล้วผิดไปเอง -- แต่ให้ระวังซีรีย์ซับนรกด้วยนะครับ)

ผลจากการทำเช่นนี้ จะทำให้เราคุ้นกับคำศัพท์และรูปแบบประโยคที่คนจีนใช้สนทนากัน พบว่าเมื่อมาเรียน Hanyu Jiaocheng 3-1, 3-2 ซึ่งเน้นวิธีใช้คำ (词语用法) ผมพบว่าสามารถทำแบบฝึกหัดได้อย่างง่ายดาย พออ่านโจทย์แล้วมันจะทราบเองว่าควรจะต้องเลือกตอบอะไร เพราะเราได้ทำความคุ้นเคยกับวิธีใช้คำ การเลือกคำและการเข้าคู่กันของคำไปแล้วโดยอัตโนมัติตั้งแต่ระหว่างที่ดูซีรีย์แล้ว

อย่างไรก็ตาม สำหรับการฝึกการฟัง การดูซีรีย์ที่มีซับจะทำให้ไม่ได้ฝึกการฟังอย่างเต็มที่ สำหรับผู้ที่ได้ HSK 4 แล้ว น่าจะฝึกดูซีรีย์โดยไม่มีซับได้แล้วครับ (ความจริงแล้วการจะดำน้ำดูซีรีย์ไม่ต้องรอเรียนรู้คำศัพท์ให้มากๆ ก่อนก็ได้ ผมเองมีประสบการณ์ดูซีรีย์โดยไม่มีซับเรื่องแรกตอนที่ยังไม่ได้ศัพท์ HSK 3 ด้วยซ้ำ พอดีไปเจอเรื่องที่เขาแปลซับไทยเอาไว้เพียงหนึ่งในสามของทั้งหมด ยังเหลืออีก 20 ตอน แต่เราเสียดายเพราะเรื่องนี้ค่อนข้างสนุก เลยจำใจดูต่อไป ก็พบว่าดูพอรู้เรื่อง แต่ตรงไหนที่เราไม่รู้เรื่องและเป็นช่วงสำคัญของเรื่อง ก็ดูซับจีนและเปิดพจนานุกรมเอาครับ)

หมายเหตุ: อย่าเคร่งเครียดมากเกินไป เพราะจะเริ่มไม่สนุกกับการเรียน อาจท้อหรือเลิกเรียนได้ครับ ถ้าไม่ไหว อาจศึกษาจากภาพยนตร์หรือเพลงแทนก็ได้ครับ เลือกที่เราชอบและสนใจเป็นหลักครับ จะทำให้เรียนได้ดี

ลิงค์เพิ่มเติม
มาฝึกภาษาจีนด้วยซีรีย์จีนกันเถอะ (มีลิงค์แนะนำซีรีย์และเวปช่วยเรียนภาษาจีนอื่นๆ)


********************************

หมั่นฝึกแต่งประโยค

การดูซีรีย์ จะได้ฝึกการฟังและการแปลจากจีน-->ไทย แต่เวลาสนทนาจะเอาแต่ฟังรู้เรื่องไม่ได้ จะต้องพูดได้ด้วย จึงต้องฝึกแต่งประโยคเป็นภาษาจีน

เมื่อแต่งประโยคแล้ว ก็ต้องตรวจดูว่าแต่งได้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าเรียนในห้องก็จะมีอาจารย์ตรวจให้ แต่ถ้าเรียนด้วยตนเองก็จะลำบากหน่อย จึงขอแนะนำหนังสือภาษาจีนระดับต้น 1 และ 2 ของอ.เหยิน จิ่งเหวิน ครับ เพราะจะมีแบบฝึกหัดแต่งประโยคภาษาไทย-->จีน โดยมีเฉลยอย่างละเอียดให้ท้ายเล่ม



(ตัวอย่างแบบฝึกหัดและเฉลย จากหนังสือภาษาจีนระดับต้น 1 ของอ.เหยิน จิ่งเหวิน)




(ตัวอย่างแบบฝึกหัดและเฉลยจากหนังสือภาษาจีนระดับกลาง 1 ของอ.เหยิน จิ่งเหวิน)

ข้อดีของหนังสือ คือ ประโยคจะเลือกมาให้เหมาะกับคำศัพท์และไวยากรณ์ที่ได้เรียนมาแล้วเท่านั้น ผู้เรียนจะสามารถแต่งประโยคเริ่มจากอย่างง่าย ไปหายากตามลำดับของบทเรียน ผู้เรียนจะสามารถใช้คำศัพท์ที่มีจำกัดตามบทเรียน ใช้เรียบเรียงออกมาเป็นประโยคได้ สามารถใช้คำศัพท์และไวยากรณ์พื้นๆ มาแต่งประโยคให้รู้เรื่องได้ ข้อดีอีกอย่างหนึ่ง คือ ถ้าประโยคเริ่มซับซ้อนขึ้น สามารถแต่งได้หลายรูปแบบ ก็จะมีการให้เฉลยครอบคลุมเอาไว้หลายทางเลือกในระดับหนึ่ง นอกจากนั้นผู้เขียนเป็นคนจีนที่พูดไทยได้ จะทราบว่าจุดไหนที่คนไทยหัดพูดจีนมักผิดพลาดบ่อยๆ จึงได้ออกแบบฝึกหัดมาเน้นที่จุดเหล่านั้นเป็นพิเศษด้วย


********************************

มารู้จักหลักการทำงานของสมองกันเถอะ

(แหล่งที่มา: Study Smart: The Power Of Spaced Repetition)

ตามหลักการทำงานของสมองและ decay theory (decay = เสื่อมถอย) ความจำของเราจะลดลงตามเวลาที่ผ่านไป คือ เราจะจำสิ่งที่เราเพิ่งเรียนเมื่อวานได้มากกว่าสิ่งที่เราเรียนไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องคอยทบทวนเพื่อไม่ให้ลืม แต่จะทบทวนอย่างไรถึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด...

จากกราฟ หลังจากการเรียน พอผ่านไป 10 นาที ถ้าเราไม่ทบทวน ความจำจะเหลือ 50% (เส้นน้ำเงิน) แต่ถ้าทบทวนก็จะกลับไปเป็น 100% เหมือนเดิม หลังจากการทบทวนครั้งแรก พอหนึ่งวันผ่านไป ถ้าเราไม่ได้ทบทวนเพิ่มจะเหลือประมาณ​ 50% (เส้นสีแดง) แต่ถ้าเราทบทวนก็จะกลับไปเป็น 100% เหมือนเดิม เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม เมื่อผ่านการทบทวนมากครั้งขึ้น อัตราการถดถอยของความจำจะช้าลง และจะสามารถจำได้นานขึ้น ทำให้สามารถเว้นระยะห่างการทบทวนออกไปอีกได้ ซึ่งตัวอย่างจากกราฟ ระยะการทบทวนที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้ความจำถดถอยมากเกินไป คือ รีบทบทวนทันทีหลังเรียน ต่อจากนั้นให้ทบทวนในวันถัดไป และทบทวนอีกเมื่อครบ 1 สัปดาห์ เป็นต้น

หลักการเรียนรู้ที่ถูกต้อง คือ ต้องทราบข้อจำกัดของสมอง ควรทยอยเรียนรู้เนื้อหาใหม่ และหมั่นเอาเนื้อหาเก่าๆ ทยอยกลับมาทบทวนในรูปแบบต่างๆ เป็นระยะๆ ซึ่งทั้งหนังสือ Hanyu Jiaocheng และหนังสือภาษาจีนระดับต้นของ อ.เหยิน จิ่งเหวิน จะเขียนโดยจะจับคำศัพท์หรือไวยากรณ์ของบทเรียนที่ผ่านมาแล้ว มาใช้ในบทเรียนหรือในแบบฝึกหัดของบทใหม่เป็นระยะๆ จัดเป็นการทบทวนไปในตัว เป็นการเรียนรู้ตามหลักธรรมชาติ

นักเรียนทั่วไปจะรอจนใกล้วันสอบจึงค่อยตะลุยอ่านทบทวน จะพบว่าจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะเนื้อหามีมาก สมองมีข้อจำกัดจะล้า ทำให้จำไม่ได้ดี ส่วนนักเรียนที่เรียนได้ดีจะตั้งใจเรียนทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนตั้งแต่อยู่ในห้องเรียน และกลับไปทำการบ้านด้วยตนเองและคอยทบทวนบทเรียนเป็นระยะๆ

อย่างไรก็ตาม การทบทวนลักษณะนี้ จัดเป็นการทบทวนแบบสุ่ม คือ ผู้เรียนจะทบทวนเนื้อหาผ่านการเรียนในบทเรียน การทำแบบฝึกหัด หรือการทบทวนเพิ่มด้วยตนเอง ทั้งเนื้อหาที่จำได้แล้วหรือยังจำไม่ค่อยได้จะถูกทบทวนด้วยอัตราที่ไม่ต่างกัน และอาจทิ้งช่วงการทบทวนไปนานเกินไป ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

โปรแกรม anki อาศัยหลักการ spaced repetition โดยจะทำหน้าที่ทยอยเอาคำศัพท์มาให้เราเรียนรู้ แล้วจะทำหน้าที่คำนวณระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะนำคำศัพท์นั้นกลับมาทบทวนเป็นช่วงๆ ไป เมื่อเราตอบคำถามบน flashcard แล้ว โปรแกรมจะช่วยจดจำว่าเราสามารถตอบคำถามได้ดีเพียงใด หากคำถามใดเราตอบได้ไม่ถูกต้อง หรือไม่ค่อยคล่อง โปรแกรมจะจับคำถามนั้นๆ กลับมาถามซ้ำบ่อยๆ และหากคำถามใดที่เรารู้สึกว่าง่าย เราก็สามารถบอกโปรแกรมได้ เพื่อจะได้ไม่นำกลับมาถามซ้ำบ่อยๆ  ซึ่งผลที่สุดแล้วจะทำให้จดจำเนื้อหาของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ทั้งหมดไปได้เอง

หลักการนี้จะช่วยประหยัดเวลา ไม่จำเป็นจะต้องทบทวนทั้งหมด เพียงทบทวนคำศัพท์ที่เรายังไม่คล่อง และนานๆ ทีจึงค่อยทวนคำศัพท์เก่าๆที่เคยได้แล้วเพื่อกันลืม จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการทั่วไปมาก แต่เรามีหน้าที่จะต้องเข้าโปรแกรมทุกวันไปเรียนรู้และทบทวนคำศัพท์ตามที่โปรแกรมจัดให้ (ดูคลิปแสดงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ random review vs most-recent review vs spaced review -- แม้เป็นภาษาอังกฤษแต่ก็เป็นภาพที่เข้าใจได้ง่าย ช่วยให้เข้าใจประสิทธิภาพของวิธีต่างๆ)

ลิงค์แนะนำ:


********************************

จงเรียนภาษาอย่างที่ polyglot เรียน

polyglot คือ คนที่สามารถพูดได้หลายภาษา บางคนก็พูดได้หลายสิบภาษาเลยทีเดียว
ลองมาดูกันว่าพวก polyglot มีวิธีการเรียนภาษาอย่างไรบ้าง

ความยาว 39.03 นาที (858k views)

Benny Lewis -- www.fluentin3months.com
เริ่มฝึกพูดตั้งแต่วันแรกที่เรียนภาษานั้นเลย! เขาเริ่มเรียนภาษาใหม่ๆด้วยการฝึกพูดตั้งแต่วันแรก เขาเรียนรู้ประโยคสนทนาง่ายๆจากหนังสือท่องเที่ยว จากนั้นเขาก็เริ่มหา native speaker สำหรับเป็นคู่สนทนาด้วย ขอคำชี้แนะจากเจ้าของภาษา
ปัจจุบันพูดได้ 11 ภาษา อย่าคิดว่าเขาเป็นอัจฉริยะทางภาษาตั้งแต่เกิด ความจริงแล้วเขามีปัญหาทางการใช้ภาษาตั้งแต่เด็กด้วยซ้ำ

Steve Kaufmann -- www.thelinguist.com
อายุ 73 ปี สามารถพูดได้ 20 ภาษา ซึ่งหลายภาษาเขาเริ่มเรียนหลังอายุ 60 ปีแล้ว
เมื่อเรียนภาษาใหม่ เขาไม่ได้ใช้วิธีฝึกพูดโดยทันที แต่กลับเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการฟังและการอ่านอย่างมากก่อน

Lucas Rafael Bighetti Pereira -- www.languageboost.biz
มีวิธีการเรียนภาษาที่น่าทึ่ง สามารถใช้เวลาอันสั้นๆ ก็สามารถสื่อสารด้วยภาษาใหม่ที่เพิ่งเรียนได้
เขาเตรียมคำศัพท์ที่ใช้บ่อยสำหรับภาษานั้น 500 คำ และเรียนรู้พร้อมประโยคตัวอย่าง  ด้วยคำศัพท์พื้นฐานเพียงเท่านี้เขาสามารถถ่ายทอดสิ่งต้องการจะสื่อสารออกมาได้อย่างมากมาย (ผู้แปล: อย่าลืมกฎ 80/20)

Gabriel Wyner -- www.fluent-forever.com
ใช้ flashcard และ spaced repetition system ในการเรียนรู้ แต่ที่น่าสนใจอย่างมากก็ คือ เขาไม่ได้ใช้การแปลเลย แต่ผ่านการใช้ภาพถ่ายของสิ่งที่เขาต้องการจะเรียนแทน

Robin McPherson -- www.youtube.com/thelifeofrob
ตอนเด็กๆ เขาถูกพ่อแม่ ครูและเพื่อนๆ กรอกหูว่าเขาไม่มีพรสรรค์ในการเรียนภาษา แต่เขาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง
เขาเรียนภาษาด้วยการใช้คลิปสั้นๆ ของภาษานั้น โดยมี subtitle ทั้งของภาษาใหม่และของคำแปลแสดงคู่กัน เขาเรียนรู้ทีละส่วนน้อยๆ  คอยทบทวนแล้วเรียนรู้เพิ่มไปเรื่อยๆ ด้วยวิธีนี้เขาใช้เวลาสั้นๆ ก็สามารถพูดภาษานั้นได้เป็นอย่างดี

David James (Uncle Davey) -- www.huliganov.tv
ใช้วิธี Goldlist method โดยเขียนรายการคำศัพท์ที่ต้องการเรียนรู้จำนวนหนึ่ง แล้วเขียนซ้ำๆ ทุกๆ 2 สัปดาห์ จนกว่าจะจำได้เป็นความจำระยะยาว จากนั้นก็เขียนซ้ำเพิ่มสำหรับคำศัพท์ที่ยังจำไม่แม่น

Lýdia Machová -- www.languagementoring.com
ชอบเรียนภาษา เรียนภาษาใหม่ๆ ทุกๆ 2 ปี


Ten things polyglots do differently สิ่งที่พวก polyglot มีร่วมกัน ที่แตกต่างจากผู้เรียนภาษาทั่วไป

1.Polyglots don't have a special talent! พวก polyglot ไม่ได้มีพรสรรค์สำหรับการเรียนภาษาเป็นพิเศษ
คนเหล่านี้จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถพูดภาษาต่างประเทศได้จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว 
ถ้าคุณคิดว่าคุณทำได้ คุณก็จะทำได้, ถ้าคุณคิดว่าทำไม่ได้ คุณก็จะไม่มีวันจะทำได้

2.Every polyglot has their own method ไม่มีวิธีเรียนอะไรที่เหมาะกับทุกคน ต้องหาวิธีที่เหมาะกับคุณเอง 

3.Polyglots learn languages mostly by themselves
คนทั่วไปจะหาโรงเรียนสอนภาษา จ่ายเงินแล้วนั่งรออาจารย์ป้อนความรู้ให้ แต่พวก polyglot จะเรียนรู้ส่วนใหญ่ด้วยตนเอง
Luca Lampariello: "Languages cannot be taught, they can only be learned." ภาษาไม่สามารถสอนได้ สามารถเรียนรู้ได้เท่านั้น

4.Polyglots create their own language material 
พวก polyglot จะหาสื่อที่เหมาะกับเขา เช่น flashcard, หนังสือที่จะใช้เรียน, ไฟล์เสียง, คลิป เป็นต้น

5.Polyglots learn one language at a time
แม้จะพูดได้หลายภาษา แต่พวก polyglot ก็เรียนรู้ทีละภาษา ไม่ใช่พร้อมๆ กัน

6.Polyglots spend much more time listening and speaking
การเรียนในระบบมักไม่เน้นทักษะด้านการฟัง ซึ่งทางที่ถูกคือควรฟังให้มากๆ จาก Podcasts หรือซีรีย์
ในกระบวนการเรียนภาษา การพูดจะช่วยให้คุณพัฒนาไปได้เร็วที่สุด

7.Polyglots are not afraid to make mistakes
ถ้ากลัวผิด จะทำให้ไม่กล้าพูด ไม่กล้าใช้งาน ก็จะไม่ถูกเสียที พวก polyglot จะไม่กลัวที่จะพูดผิด

8.Polyglots have mastered the art of simplification
พวก polyglot จะเก่งที่จะใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ง่ายๆ แต่สามารถสื่อสารให้รู้เรื่องได้

9.Polyglots learn in small chunks
เรียนครึ่งชั่วโมงทุกวัน ได้ผลกว่าเรียน 8 ชั่วโมงวันอาทิตย์วันเดียว (ผู้แปล: สมองมีข้อจำกัด)

10.Polyglots enjoy learning languages
พวก polyglot ชอบเรียนภาษาและสนุกกับมัน แทนที่จะเรียนตามแบบเรียนเพียงอย่างเดียว คุณควรหาวิธีการเรียนที่คุณสามารถสนุกกับมันได้ด้วย จะได้เรียนได้ดี

---------

ความยาว 10.45 นาที (5M views) -- คลิปนี้มีซับไทยด้วยครับ

Lýdia Machová สรุปเคล็ดลับสำหรับเรียนภาษาใหม่ไว้ดังนี้

1.Enjoyment -- จงสนุกกับการเรียนภาษา หาวิธีเรียนภาษาที่คุณสนุกกับมันได้ สามารถใช้เรียนได้ทุกวัน

2.Methods -- เมื่อคุณเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ คำศัพท์เหล่านั้นจะถูกเก็บไว้ที่ความจำระยะสั้นและจะถูกลืมไปภายในไม่กี่วัน จำเป็นจะต้องคอยทบทวนเพื่อให้เป็นความจำระยะยาว
อาจใช้ spaced repetition เช่น โปรแกรม ANKI, Memrise เป็นต้น หรือใช้วิธีเขียนคำศัพท์ซ้ำๆ ตาม Goldlist method แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าวิธีไหนที่เหมาะกับคุณ ก็สามารถเข้าไปตามเวปของพวก polyglot เพื่อหาแรงบันดาลใจและวิธีที่เหมาะกับคุณ

3.System -- วางแผนหาเวลาสำหรับการเรียนภาษาเพิ่ม เช่น ตื่นนอนให้เร็วขึ้น 20 นาทีทุกวันมาทบทวนคำศัพท์, ฟัง Podcasts ระหว่างขับรถหรือระหว่างทำงานบ้าน, วางแผนทำตารางเวลากำหนดเวลาการเรียนภาษาเข้าไปในตารางประจำวัน

4.Patience -- อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะเรียนภาษาใน 2 เดือน แต่ในเวลา 2 เดือนคุณสามารถเห็นความก้าวหน้าอย่างมากในการเรียนภาษาได้ การทำอะไรทุกอย่างต้องใช้ความอดทน ไม่ท้อถอยง่ายๆ

ด้วยวิธีการเหล่านี้ พวก polyglot จึงสามารถเรียนภาษาใหม่ๆ ได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน ไม่ใช่ใช้เวลาเป็นปีๆ

ลิงค์เพิ่มเติม:


********************************

天下无难事,只怕有心人 there is nothing the determined person can't accomplish (idiom) / persistence will overcome


********************************

new บทความใหม่  8 สิงหาคม 2564 --  แชร์เทคนิคการจำตัวอักษรจีน

.
.
.
ว่างๆ จะมาเขียนต่อครับ




6 ตุลาคม 2563 -- เวป eblcu เข้าได้ตามปกติทั้งหมดแล้วครับ (เป็นเฉลยสำหรับ 2nd edtion) ส่วนเฉลยของ 3rd edtion และเกร็ดความรู้จะอยู่ด้านบนครับ

(หมายเหตุ: เนื่องจาก Chrome หยุดการสนับสนุน flash ไปแล้วเมื่อปลายปี 2563 หลังจากนี้อาจหา browser ตัวอื่นที่ยังสนับสนุนมาเปิด แต่หากยังใช้ Chrome ก็สามารถใช้ Ruffle extension -- ดูวิธีติดตั้งในหัวข้อ 'Installing the browser extension' เวลาเลือกโหลด Releases ต้องเลือกหัวข้อ Chrome/Edge/Safari ครับ ติดตั้งไม่ยาก)

Hanyu Jiaocheng 1-1
บทที่ 1 สวัสดี
บทที่ 2 ภาษาจีนไม่ค่อยยาก
บทที่ 3 พรุ่งนี้เจอกัน
บทที่ 4 เธอไป(ที่)ไหน
บทที่ 5 นี่คืออาจารย์หวัง
บทที่ 6 ฉันเรียนภาษาจีน
บทที่ 7 เธอกินอะไร
บทที่ 8 แอปเปิ้ลครึ่งกิโลราคาเท่าไหร่
บทที่ 9 ฉันแลกเงินจีน
บทที่ 10 เขาพักอยู่ที่ไหน
บทที่ 11 พวกเราล้วนเป็นนักเรียนต่างชาติ
บทที่ 12 เธอเรียนอยู่ที่ไหน
บทที่ 13 นี่คือยาจีนหรือไม่ (บทเรียนมีการแก้ไข พอใช้เทียบเคียงได้)
บทที่ 14 รถของเธอใหม่หรือว่าเก่า
บทที่ 15 บริษัทของพวกเธอมีพนักงานเท่าไร

Hanyu Jiaocheng 1-2
บทที่ 16 เธอไปห้องสมุดบ่อยไหม
บทที่ 17 เขากำลังทำอะไรอยู่
บทที่ 18 ฉันไปที่ทำการไปรษณีย์ส่งพัสดุ
บทที่ 19 ลองดูได้ไหม (บทเรียนมีการแก้ไข พอใช้เทียบเคียงได้)
บทที่ 20 สุขสันต์วันเกิด (บทเรียนมีการแก้ไข พอใช้เทียบเคียงได้)
บทที่ 21 พรุ่งนี้ 7 โมง 15นาที พวกเราออกเดินทาง
บทที่ 22 ฉันคิดไว้ว่าจะเชิญอาจารย์สอนงิ้วฉัน
บทที่ 23 ข้างในโรงเรียนมีที่ทำการไปรษณีย์รึเปล่า
บทที่ 24 ฉันอยากเรียนไท้เก็ก
บทที่ 25 เขาเรียนได้ดีมาก
บทที่ 26 เถียนฟางไปไหนแล้ว
บทที่ 27 แมรี่ร้องไห้แล้ว
บทที่ 28 ฉันกินข้าวเช้าเสร็จก็มาเลย (บทเรียนมีการแก้ไข พอใช้เทียบเคียงได้)
บทที่ 29 ฉันทำถูกทั้งหมดเลย (บทเรียนมีการแก้ไข พอใช้เทียบเคียงได้)
บทที่ 30 ฉันมาได้สองเดือนกว่าแล้ว

Hanyu Jiaocheng 2-1
บทที่ 31 我比你更喜欢音乐
บทที่ 32 我们那儿的冬天跟北京一样冷
บทที่ 33 冬天快要到了
บทที่ 34 快上来吧,要开车了
บทที่ 35 我听过钢琴协奏曲《黄河》
บทที่ 36 我是跟旅游团一起来的
บทที่ 37 我的护照你找到了没有 (บทเรียนมีการแก้ไข พอใช้เทียบเคียงได้)
บทที่ 38 我的眼镜摔坏了
บทที่ 39 钥匙忘拔下来了 (ไม่ค่อยตรง ใช้ได้ตั้งแต่ข้อ 4 เป็นต้นไป)
บทที่ 40 会议厅的门开着呢

Hanyu Jiaocheng 2-2
บทที่ 41 前边开过来一辆空车
บทที่ 42 为什么把“福”字倒贴在门上 (ไม่ค่อยตรง ใช้ได้ตั้งแต่ข้อ 4 เป็นต้นไป)
บทที่ 43 请把护照和机票给我
บทที่ 44 我的腿被自行车撞伤了
บทที่ 45 京剧我看得懂,但是听不懂
บทที่ 46 山这么高,你爬得上去吗
บทที่ 47 我想起来了
บทที่ 48 寒假你打算去哪儿旅行
บทที่ 49 有困难找警察
บทที่ 50 吉利的数字

Hanyu Jiaocheng 3-1
บทที่ 51 离家的时候
บทที่ 52 一封信
บทที่ 53 北京的四季
บทที่ 54 理想
บทที่ 55 回头再说
บทที่ 56 吃葡萄
บทที่ 57 成语故事
บทที่ 58 恋爱故事
บทที่ 59 幸福的感觉
บทที่ 60 提高自己
บทที่ 61 我看见了飞碟
บทที่ 62 好人难当
บทที่ 63 百姓话题

Hanyu Jiaocheng 3-2
บทที่ 64 谁当家
บทที่ 65 受伤以后
บทที่ 66 话说“慢点儿”
บทที่ 67 再试一次
บทที่ 68 一盒蛋糕
บทที่ 69 无声的泪
บทที่ 70 什么最重要
บทที่ 71 理发
บทที่ 72 母亲的心
บทที่ 73 网络学校
บทที่ 74 情商
บทที่ 75 你喜欢什么颜色
บทที่ 76 梁山伯与祝英台
 -------------------------

นอกจากนี้ยังมีลิงค์ แชร์หนังสือ Hanyu Jiaocheng (pdf+mp3) สำหรับผู้ที่ต้องการหนังสือเรียนและไฟล์เสียงต้นฉบับ ที่ใช้เปิดสอนกันในห้องเรียนครับ




วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562

แชร์คำศัพท์ HSK 4,5,6 คำแปลภาษาไทย พร้อม flashcard ช่วยท่องคำศัพท์

























download links:

HSK 4:  คำศัพท์ (pdf)    ดัชนีคำศัพท์    ANKI flashcard    -- ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (14 พ.ย. 2564)

HSK 5:  คำศัพท์ (pdf)    ดัชนีคำศัพท์    ANKI flashcard    -- ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (3 พ.ย. 2564)

HSK 6:  คำศัพท์ (pdf)    ดัชนีคำศัพท์    ANKI flashcard    -- ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (14 ม.ค. 2565)

------------
คำศัพท์ HSK ระบบใหม่ (ปี 2012)  มีคำแปลภาษาอังกฤษและไทย พร้อมตัวอย่างประโยค  ประกอบด้วยไฟล์คำศัพท์ pdf, ดัชนีคำศัพท์ และ ANKI flashcard

ไฟล์คำศัพท์เอาคำแปลภาษาอังกฤษจาก ANKI flashcard มาใส่คำแปลภาษาไทย ซึ่งส่วนมากจะยึดตามพจนานุกรมจีน-ไทย โดยเธียรชัย เอี่ยมวรเมธ แต่มีบางส่วน(น้อย) ที่ต้องปรับปรุงเพราะมีคำจำกัดความไม่เข้ากับของภาษาอังกฤษหรือมีความผิดพลาดในการแปลโดยนัยสำคัญ (ซึ่งแสดงไว้ในไฟล์ดัชนีคำศัพท์) ส่วนตัวอย่างประโยค เอามาจาก www.yellowbridge.comwww.purpleculture.net, www.iciba.com และ cidian.youdao.com

ในไฟล์ดัชนีคำศัพท์จะแสดงว่าคำศัพท์ใดมีการปรับปรุงการให้คำจำกัดความไปจากพจนานุกรมจีน-ไทย อีกทั้งจะบอกคำศัพท์ HSK 6 ที่ได้พบในซีรีย์ทั่วไป (สุ่มแกะศัพท์มาประมาณ 10 เรื่อง ที่ไม่ใช่หนังกำลังภายใน) ซึ่งคิดเป็น 71% ของทั้งหมด (ส่วนคำศัพท์ HSK 1-5 จะพบเกือบ 99%)

ANKI flashcard ไฟล์ต้นฉบับมาจาก https://ankiweb.net/shared/info/1855818143 มาใส่คำแปลภาษาไทย เนื้อหาเหมือนกับไฟล์คำศัพท์ที่เป็น pdf แต่จะเป็นรูปแบบ flashcard

โปรแกรม ANKI flashcard จะช่วยในการจดจำคำศัพท์เป็นอย่างมาก โดยจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการคอยอ่านทบทวนโดยทั่วไป มี deck คำศัพท์ในหมวดอื่นๆ ให้ download ใช้งานด้วย ถ้าใช้เป็นแล้วจะต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อีกมาก

ลิงค์เพิ่มเติม: โปรแกรม anki ดีอย่างไร; วิธีใช้ ANKI flashcard (ย่อ); วิธีลงโปรแกรมและใช้งาน (เต็ม); How to use Anki

------------
การตรวจทานความถูกต้องของคำจำกัดความ

คำจำกัดความภาษาไทยจากพจนานุกรมจีน-ไทยของคำศัพท์ทุกคำ จะมีการตรวจทานความหมายกับพจนานุกรมจีน-จีน คือ www.zdic.net, www.iciba.com และ cidian.youdao.com  ซึ่งมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะกับระดับ HSK 6 เพราะจะมีคำที่มีความหมายใกล้กัน (近义词)

นอกจากนั้นยังเทียบเคียงคำจำกัดความระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทยโดยจะอิง Cambridge Dictionary และ Longdo Dictionary (สามารถอ่านที่มาที่ไปในการจัดทำตารางคำศัพท์ HSK นี้ขึ้นมา ได้ในเกร็ดความรู้ในกระทู้ แชร์แบบฝึกหัดพร้อมเฉลย Hanyu Jiaocheng)


------------
เผยแพร่เป็นวิทยาทาน ยินดีน้อมรับทุกข้อชี้แนะและคำติชม เพื่อจะมาใช้ปรับปรุงผลงานต่อไป



แชร์ Hanyu Jiaocheng (pdf + mp3)






หนังสือ Hanyu Jiaocheng (pdf) และไฟล์เสียง ที่ใช้เปิดสอนกันในห้องเรียนครับ
เหมาะสำหรับผู้เรียนด้วยตนเอง จะได้เห็นหนังสือเรียนมาตรฐานและได้ฟังไฟล์เสียงต้นฉบับ
หนังสือเขียนมาเพื่อใช้สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ผู้ที่ได้ภาษาอังกฤษน่าจะถูกใจครับ
ถ้าเป็นนักเรียนอยู่แล้ว ก็สามารถเอาไฟล์เสียงมาเปิดทวนได้


Hanyu Jiaocheng (3rd edition) (pdf+mp3)  พิมพ์ครั้งที่ 3 ปี 2016
(ขอบคุณ: https://teach.cchatty.com/download/hanyu-jiaocheng/)

Hanyu Jiaocheng (2nd edition) (pdf+mp3)  พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2006

-----------------------

แชร์เทคนิคการจำตัวอักษรจีน

ใครที่คิดจะจำลายเส้นตัวอักษรจีนไปทั้งตัว อย่างไม่มีหลักการ ขอให้เลิกล้มความคิดนั้น เพราะสมองไม่ใช่เครื่องถ่ายเอกสาร สมองมีขีดจำกัด ถ้าไม่มีห...