ใครที่คิดจะจำลายเส้นตัวอักษรจีนไปทั้งตัว อย่างไม่มีหลักการ ขอให้เลิกล้มความคิดนั้น เพราะสมองไม่ใช่เครื่องถ่ายเอกสาร สมองมีขีดจำกัด ถ้าไม่มีหลักการจำ ไม่นานก็จะสับสนจะลืมไปในที่สุด
ความจริงแล้ว ตัวอักษรจีนไม่ใช่ลายเส้นสุ่ม เราควรเริ่มด้วยการศึกษาวิธีประดิษฐ์อักษรจีนก่อน ซึ่งหลักๆ มีอยู่ 4 วิธีดังนี้ (ที่มา: หนังสือภาษาจีนระดับต้น 1 ของอ.เหยิน จิ่งเหวิน)
1. 象形字 อักษรภาพ
เป็นการวาดภาพตามรูปร่างของสิ่งของที่มีอยู่จริง ส่วนใหญ่เป็นตัวหนังสือเดี่ยว คิดเป็น 5% ของตัวหนังสือที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ 日,心,门,水,火,子 เป็นต้น
2. 指事字 ตัวหนังสือที่ใช้เครื่องหมายนามธรรมแสดงความหมาย
ใช้เครื่องหมายที่เป็นนามธรรมแสดงความหมายของตัวหนังสือ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นตัวหนังสือเดี่ยว ตัวหนังสือประเภทนี้มีจำนวนไม่มาก ได้แก่ 本,末,上,下,天,三 เป็นต้น
3. 会意字 ตัวหนังสือผสมเพื่อแสดงความหมายใหม่
เป็นตัวหนังสือใหม่ที่ประกอบขึ้นมาจากตัวหนังสือเดี่ยว (独体字) หรือส่วนประกอบของตัวหนังสือ (偏旁) ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อแสดงความหมายใหม่ ได้แก่ 木 (ต้นไม้) + 木 (ต้นไม้) --> 林 (ป่า)
4. 形声字 ตัวหนังสือผสมที่แสดงทั้งความหมายและเสียง
ทั้งหมดเป็นตัวหนังสือผสม โดยประกอบขึ้นจากตัวหนังสือเดี่ยวหรือส่วนประกอบของตัวหนังสือ ซึ่งส่วนหนึ่งทำหน้าที่บอกความหมาย (意符) และอีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่บอกเสียง (音符) ได้แก่
女 (ผู้หญิง - ส่วนประกอบบอกความหมาย) + 马 (mǎ - ส่วนประกอบบอกเสียง) --> 妈 (mā, แม่)
ปัจจุบันนี้ ตัวหนังสือประเภทนี้มีมากกว่า 80% ของตัวหนังสือจีนทั้งหมด
------------------
จากการศึกษาวิธีประดิษฐ์ตัวอักษร ทำให้เราทราบว่าตัวอักษรจีนไม่ใช่ลายเส้นสุ่ม ทำให้เรามีหลักในการจำตัวอักษรจีน กล่าวคือ
1. ตัวอักษรจีน มากกว่า 80% เป็นตัวหนังสือผสม ดังนั้นเราควรแยกองค์ประกอบของตัวอักษร ว่าตัวอักษรตัวนั้นประกอบด้วยส่วนประกอบอะไรบ้าง แล้วเพียงฝึกเขียนองค์ประกอบย่อยๆ ให้เป็น ซึ่งถ้าเขียนองค์ประกอบย่อยของตัวอักษรตัวหนึ่งเป็นแล้ว ก็สามารถนำไปใช้กับตัวอักษรอื่นๆ ได้อีกด้วย (เป็น building block)
------------------
เครื่องมือที่ใช้แยกองค์ประกอบตัวอักษร
แสดงการแยกองค์ประกอบของตัวอักษร โดยถ้าใช้เม้าส์จิ้มที่องค์ประกอบย่อยก็จะสามารถทราบชื่อและความหมายของแต่ละองค์ประกอบได้
มีตัวเลือกสามารถแสดงลำดับขีดได้
มีการแสดงส่วนประกอบพร้อมเสียงอ่านและความหมายของแต่ละส่วนประกอบ โดยส่วนประกอบที่เป็นส่วนประกอบบอกความหมายจะเป็นสีน้ำตาล
มีภาพแอนิเมชั่นแสดงลำดับขีด
ทั้งหมดอยู่ในหน้าจอเดียวทำให้ดูง่าย แต่พบว่าในตัวอักษรบางตัวมีการแสดงส่วนประกอบของตัวอักษรคลาดเคลื่อนไป (เพิ่งพบเพียง 1 ตัว) จึงควรตรวจสอบกับเวปอื่นด้วย
------------------
เทคนิคการจำตัวอักษรว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง
1. ถ้าเป็นอักษรภาพ ให้เชื่อมโยงเข้ากับสิ่งที่ตัวอักษรนั้นกำเนิดมา และควรจะฝึกเขียนให้ถูกต้องตามลำดับขีด (stroke order) เพราะลำดับขีดถูกออกแบบมาเพื่อให้เขียนตัวอักษรนั้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้ตัวอักษรดูสวยงาม และการเขียนตัวอักษรให้ถูกต้องตามลำดับขีดจะทำให้ต่อไปจะอ่านลายมือเขียน(เขี่ยๆ)ได้ไม่ยาก (อ่านเพิ่มเติมที่ 36 samples of Chinese handwriting from students and native speakers)
2. ถ้าเป็นตัวอักษรผสมที่มีหลายองค์ประกอบย่อย ควรจะแต่งเรื่องเพื่อเชื่อมโยงองค์ประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งเรื่องที่แต่งนอกจากจะต้องมีองค์ประกอบย่อยทั้งหมดแล้ว ยังควรมีความหมายหรือเสียงอ่านหรือรูปร่างของตัวอักษรนั้นเพื่อทำให้จำแม่นยิ่งขึ้น เช่น คน (亻) พิงต้นไม้ (木) เพื่อพักผ่อน (休)
เทคนิคอื่นๆ ที่ช่วยในการจำตัวอักษรจีน
1. ใช้ภาพเพื่อเชื่อมโยงความหมายเข้ากับตัวอักษรโดยตรง
วิธีนี้จะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำตัวอักษรและความหมายของตัวอักษรได้อย่างรวดเร็ว และวิธีนี้ยังสนับสนุนเทคนิคการแยกส่วนประกอบของตัวอักษรอีกด้วย
2. การศึกษากลุ่มตัวอักษรที่มีส่วนประกอบบอกเสียงเหมือนกันไปด้วยกัน
การที่มีส่วนประกอบบอกเสียงเหมือนกัน ทำให้เราฝึกเขียนส่วนประกอบบอกเสียงเพียงตัวเดียว ก็สามารถใช้ศึกษากลุ่มตัวอักษรที่เกี่ยวข้องได้อีกหลายตัว สามารถแยกความแตกต่างของตัวอักษรในกลุ่มได้ ซึ่งในกลุ่มตัวอักษรนี้ มักจะมีเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกัน ทำให้จำเสียงได้ง่าย นอกจากนั้นเราควรจดจำตัวอักษรโดยเชื่อมโยงความหมายเข้ากับส่วนประกอบบอกความหมายด้วย ช่วยในการจำความหมายให้แน่นยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น
------------------
หมายเหตุ
เผยแพร่เป็นวิทยาทานครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ในการจำตัวอักษรให้แม่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ลิงค์แนะนำ: แชร์เฉลย Hanyu Jiaocheng ลองอ่านเกร็ดความรู้ แนวทางการเรียนภาษา